In-House Training and Consulting
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28 ถนนพรหมาสตร์ ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 088 6560247, 083 2431855
E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ผู้เข้าอบรมเข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA
สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME
หรือรักษาระบบ ISO ชั่วคราว
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME
หรือรักษาระบบ ISO ชั่วคราว
สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link http://safetysolving.blogspot.com/
คุณภาพเป็นเลิศ ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี
081 3029339, 083 2431855
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com
isoiatf@hotmail.com
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
In-House Training: http://ksnationconsultant.blogspot.com/
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS link: http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000 link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link: http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ http://sites.google.com/site/isosiamtraining/
หรือ SA8000 Check List link ที่ http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn Ngamprompong หรือ ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี KS Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ
โดยวิทยากรคุณภาพและประสบการณ์ด้าน ISO เป็นเวลาถึง 28 ปี
ผ่านงานทั้ง CB Auditor, QMR/EMR/OHSMR/
Food Safety Team Leader และงานจริงจากโรงงานต่างๆ
"as your require"
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้
อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
ตั้งแต่ปี 2013 ถึงปัจจุบัน ผู้เขียนและทีมงานร่วมงานกับ KS Nation Consultant Co.,Ltd. เป็นผู้บรรยายประจำในระบบการจัดการต่างๆ และเป็น Lecturer/Instructor/ External Trainer/ Freelance Auditor ให้กับองค์การและกับ Certification Bodies โดยประสบการณ์จริงจากชีวิตทำงานในโรงงานและหน่วยงานต่างๆ :
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ สู่ "โซเชียล ไอโซ่ (Social ISO) เพื่อนแท้ที่แปลกหน้า"
คำถามสารพัดเรื่องของมาตรฐาน ISO ดังนี้
ผู้เขียน ขอให้อ่านพื้นฐานจาก ISO 9001 ก่อน ( http://quality1996-quality1996.blogspot.com/)
จากนั้นให้ศึกษาจากเวบบล๊อคอธิบายเกี่ยวกับ มาตรฐาน GMP/HACCP/ISO22000 สามารถดูจากลิงค์ (link) http://qualitysolving.blogspot.com/ ทำโรงงานผลิตอาหารต้องรู้และได้ใช้งานแน่นอน
2 น้อง BioTechnology จากลาดกระบัง ต้องการรู้ว่า GMP ให้ทำตามคำแนะนำข้อที่ 1 สงสัยถามมาใหม่ อนาคตผู้เขียนจะหาเวลาใช้สไก๊ท์ (Skyte) เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับน้องๆ โรงงานที่น้องทั้งสองไปสัมภาษณ์นั้น ทำทั้งสามระบบการจัดการครับ ทั้งสองคนต้องได้ใช้งานแน่นอน ให้ขนขวายศึกษาครับ
หมายเหตุ สามระบบ หมายถึง ระบบบริหารคุณภาพ ระบบบริหารสิ่งแวดล้อม ระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
3 น้อง DC จากโรงงานกระจก ถามมาเรื่องลงชื่อกับตราประทับ โดยตราประทับเป็นการแสดงสถานะ ในข้อกำหนด ISO9001 Version 2008 ระบุไว้ให้ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง การลงลายมือแล้วประทับตรา มีผลทางกฎหมายด้วย ในทางกลับกันมีแต่ตราประทับไม่มีลายมือ ไม่มีผลทางกฎหมาย แต่กฎหมายยอมให้พิมพ์ลายนิ้วมือได้
เพิ่มเติมผู้เขียนมีเพื่อนเป็นทนายความหลายคน จะลองสอบถามอีกครั้ง เพราะปกติปากกาที่ลงนามในสัญญา เป็นสีน้ำเงินหรือสีดำเท่านั้น ผู้บริหารบางท่านมักใช้ปากกาสีเหลือง เขียว และแดง ลงนามก็มี แต่นั่นเป็นงานในบริษัท และสีเหล่านั้น ผ่านไปนานหลายปีโดยเฉพาะสีเหลือง เขียว และแดง จะเลือนลางและจางหายไป เท่ากับเราไม่เป็นหนี้ใคร?
4 จากอยุธยาถามมา ISO/TS 16949 คือระบบบริหารคุณภาพ ในโรงงานต้องทำไหม
ผู้เขียน ทำในโรงงานที่เกี่ยวกับ Automobile เช่น ผลิตรถยนต์ อะไหล่ต่างๆ โรงงานที่ผลิตสินค้าทางสารเคมี และโรงงานปุ๋ย ทำระบบบริหารคุณภาพเช่นกัน แต่มักเลือกทำ ISO9001
5 จากศรีราชาถามว่าโรงงานต้องทำ ISO14001 และ OHSAS หรือไม่ มีข้อมูลไหม
ผู้เขียน ระบบการจัดการทั้ง EMS(ISO14001) และ OHSAS 18001 เป็นการสมัครใจทำ ไม่บังคับ แต่บางส่วนงานราชการ หรือหน่วยงานที่จะไปประมูลขายสินค้า อาจไปกำหนด Spec. ว่าต้องมีใบรับรอง
ตอนนี้โรงงานส่วนใหญ่ทำ QMS (ISO9001) มีระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้ซื้อจากบริษัทที่ได้รับรองระบบก่อน สุดท้ายให้ลองดูบทความที่ลิงค์เกี่ยวกับมาตรฐาน ISO14001, OHSAS18001 จาก http://safetysolving.blogspot.com/
6 ท่านอาจาย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์มีข้อคิดเห็นเข้ามาที่ Blog9
ผู้เขียน เปิดกว้างให้ครับ สามารถแสดงความคิดเห็นได้ อ่านแล้วได้รู้ศัพท์ Ladyboy ขอบคุณมากครับ
7 น้อง DC จากชลบุรีถามว่า ต้องจำข้อกำหนด ISO9001, ISO14001 หรือไม่ และจำไม่ค่อยได้
ผู้เขียน น้องต้องเข้าใจเนื้อหาใจความก่อน ดูบ่อยๆ คือใช้งาน จะจำได้แม่น ที่อบรมก็มีทั้ง MASCI, Moody, สสท. TUV Nord อื่นๆ ลองสอบถามดูตารางการสัมมนาและอบรมของแต่ละแห่งครับ
8 น้องจากฉะเชิงเทรา ถามว่าตรวจ ISO/TS16949 ตรวจกะกลางคืนด้วยหรือ
ผู้เขียน ตรวจประเมินทุกกะครับ แต่ก่อนผู้ตรวจสอบอาจไปช่วงหลังเที่ยงคืน หรือราวๆตีหนึ่ง หลังๆเท่าที่ทราบคงเหนื่อย มักไปช่วงตีสี่ ตีห้า แล้วจะได้ตรวจกะเช้าตั้งแต่ 8.00 น. ต่อทันที เห็นใจผู้ตรวจสอบบ้างเถอะ ผู้ตรวจสอบไม่ใช่คนเหล็ก ย่อมเหนื่อยได้ แต่ตอนนี้คนเหล็ก ที่ชื่อ อาร์โนลด์ ชวารเชเนกเกอร์ พระเอกเราต้องเหนื่อยมาก เพราะนำเด็กไปฝากในท้องแม่บ้านของตัวเอง ภรรยากำลังฟ้องหย่า
เรื่องตรวจกะกลางคืน วันหน้าจะไปเล่าให้ฟังใน Blog ที่10 ของ QMS ยิ่งเวลาตีสาม ตีสี่ คนเราจะง่วง และเผลอหลับ หรือหลับสนิท ตีนแมวชอบเข้าบ้านยามวิกาลในช่วงนี้ ผู้เขียนเคยไปตรวจงานกะดึก สมัยทำงานอยู่สมุทรปราการ และชลบุรี บางคนเล่นกางมุงนอนก็มี หรือ ทำงานในกลุ่มสิบคน จะมีสลับสองคนผลัดกันไปนอน ชีวิตโรงงานยามดึก น่าเห็นใจ แต่น้องๆต้องบริหารเวลาในการนอนของภาคกลางวันให้ดีครับ
9 มีน้อง IE ถามมาเกี่ยวกับการทำและเขียนคู่มือจีเอ็มพี(GMP Manual) สำหรับโรงงานขนาดเล็ก ผู้เขียนขอสรุป ดังนี้
1 สินค้า คืออะไร ทำจากวัตถุดิบอะไร จากแหล่งไหน เราต้องรู้ ต้องมีการตรวจสอบ Inspection ให้เขียนเป็นคู่มือการตรวจสอบขึ้นมาตามที่ปฎิบัติจริง
อีกสิ่งที่ต้องทำ สร้างคือเขียนคู่มือการตรวจรับเข้า Incoming Inspection ที่รับวัตถุดิบเข้ามาทำอย่างไร
รวมทั้งสร้างระบบบันทึก (Control of Record)
2 การเขียนคู่มือจีเอ็มพี(GMP Manual) ไปดูตัวอย่าง ให้เขียนแบบคู่มือคุณภาพของ ISO9001
ลดบางหัวข้อออก และเพิ่มเรื่องอาคารสถานที่
เพิ่มหัวข้อ Describe Productข้อ2.1 ถึง 2.9 ที่ผู้ขียน เขียนในWeb Blog ที่ 2 ของ quality solving
ให้ใส่ Flow Chart และทำการ Verify Flow Chart
ใส่หัวข้อ โปรแกรมพื้นฐาน(SOP: Procedure)ที่โรงงานต้องมีลงไปให้ครบ เช่น เรื่องสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคล เรื่องการทำความสะอาด เรื่องการควบคุมน้ำ เรื่องการควบคุมขยะ เรื่องการควบคุมแก้ว เรื่องการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค อื่นๆเท่าที่ต้องมีตามกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทอาหาร
ใส่เรื่องการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์
จากนั้นก็เขียนล้อตามหัวข้อตามที่ผู้เขียนอธิบายใน Blog แต่ไม่ต้องใส่ทุก Procedure เพราะว่าอีกหลาย Procedure ต้องทำต่อยอดจาก GMP เพื่อขอรับรองระบบคุณภาพของ HACCP และ ISO22000
เขียนคู่มือของขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการผลิต ทำอย่างไร
การบรรจุทำอย่างไร
การจัดเก็บ รักษา ทำอย่างไร
เริ่มสร้างและทำระบบเอกสารขึ้นมาด้วย (Control of Document)
เมื่อสร้างระบบเสร็จ ปรับปรุงอาคาร สถานที่โรงงานได้มาตรฐานแล้ว ไปยื่นเรื่องให้ อย. มาตรวจ
10 มีผู้ถามการเขียนคู่มือคุณภาพของ ISO/TS16949:2009 ทำอย่างไร หากเป็นโรงงานผลิตอะไหล่ขนาดเล็ก กำลังจะทำ ISO9001:2008 ต้องเขียนคู่มือสองเล่มใช่ไหม ถ้าต้องทำทั้งสองมาตรฐาน
ผู้เขียน ขอตอบว่า หากจะทำระบบคุณภาพ สามารถทำเฉพาะ ISO/TS16949 เพราะครอบคลุมและเป็นมาตรฐานเฉพาะด้านสำหรับโรงงานทำ Spare Parts เกี่ยวกับ Automobile แต่ถ้าประสงค์จะทำ ISO 9001 ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปด้วย ใช้ได้ทุกโรงงาน ทุกประเภท ก็เขียนคู่มือคุณภาพเล่มเดียว แต่ในคู่มือให้ใส่รายละเอียดต่างๆ ล้อตามข้อกำหนดของ ISO9001 ก่อน และเพิ่มในส่วนที่เป็น ISO/TS16949 ที่ระบุให้ต้องปฎิบัติ โดยเขียนแบบ Integrate หรือ Merse สองมาตรฐานเข้าด้วยกัน รายละเอียดที่ต้องเขียนมากขึ้นจาก ISO9001 ไว้ผู้เขียน จะเขียนต่อไปใส่ในบทความ Blogที่ 11 ของ http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
เรื่องที่จะหาที่ปรึกษานั้น แนะนำให้สอบถามไปที่บริษัทที่ปรึกษาต่างๆ สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างมีระบบ บางบริษัทที่ปรึกษานั้น ผู้เขียนไม่รู้จักเพราะเดี๋ยวนี้มีเพิ่มขึ้นมามากมาย คงต้องหาผู้ที่มีประสบการณ์ เข้าใจการทำระบบทีละขั้นตอน ที่พนักงานสามารถทำได้จริง หากทำตามตำรา เขียนสวยหรู ถ้าไม่ใช่โรงงานใหญ่ มีคนเก่ง มีวิศวกรและบุคลากรที่พร้อมทุกด้าน โอกาสทำแล้ว ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรหรือขาดประสิทธิผล มักพบเห็นบ่อยๆ อนาคตผู้เขียน จะไปทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบ(Auditor) ซึ่งเป็นอาชีพเก่าที่ผู้เขียนชอบ บทความที่เขียนก็ตอบทุกคนที่ถามมา เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาระบบบริหารคุณภาพโดยให้ฟรี และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
มีข้อมูลสอบถามมาจากหลายท่าน ผู้เขียนก็ตอบเมล์ให้แล้ว แต่ไม่ได้นำมาลง หรือ Up Date ข้อมูลสม่ำเสมอ
มีข้อมูลสอบถามมาจากหลายท่าน ผู้เขียนก็ตอบเมล์ให้แล้ว แต่ไม่ได้นำมาลง หรือ Up Date ข้อมูลสม่ำเสมอ
เช่น
11.1 สอบถามยื่น Re-Audit ใหม่หลังใบ Certificate ครบอายุ ต้องเตรียมเอกสารใดบ้าง
ตอบว่า ให้สอบถาม CB นั้นๆ ต้องการอะไรเพิ่มหรือไม่ หากว่ายื่น CB เดิม ก่อนหมดอายุ ทาง CB ก็จะประสางานมาหลังจากมีการยืนยันแล้วเอกสารที่ต้อง Up Date ก็มี QM, Procedure ที่เกี่ยวข้องในระบบการจัดการต่างๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญก็ให้แจ้ง CB ทราบด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงตัว MD, MR การเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่สำคัญและมีผลกระทบต่อระบบ การเปลี่ยนแปลงแผนผังองค์กร การเปลี่ยนแปลง Factory Lay Out การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลง Policy ต่างๆที่สำคัญต่อระบบนั้นๆ
11.2 หากยื่น CB ใหม่ ก็ต้องนำส่งเอกสาร QM, Procedure, Factory Lay Out, Organization Chart, Process Chart หากว่า MD มอบหมายท่านใดไปสมัครแทน ก็ต้องมีการมอบอำนาจ สำเนาเอกสารการจัดตั้งบริษัท อื่นๆเท่าที่จำเป็นและกรอกข้อมูล รายละเอียดต่างๆ สินค้าอะไร จำนวนพนักงานเท่าไร มีกี่กะ(เพื่อคิดค่า Man Day กี่วัน) โดยทาง CB จะแจ้งให้ทราบว่าต้องส่งเอกสารใดบ้าง สามารถไปสมัครเองหรือส่งทาง Mail ก็ได้ หลังจากนั้น CB จะประสานงาน มีการประเมินเอกสาร อาจมีการ Site Visit หรือ กำหนดวันตรวจ Stage 1 และ Stage 2 รวมทั้งมาตรฐานและขอบข่ายที่ขอรับรอง ส่วนราคาคือค่ารับรองระบบ ค่าธรรมเนียมของใบ Certificate แต่ละ CB ไม่เท่ากัน
12 น้องที่สอบถามว่าการควบคุมเอกสารของ ISO9001 ตามเวอร์ชั่น 2000 และพอปรับเป็นเวอร์ชั่น 2008 พอดีย้ายไปทำงานที่ใหม่จะทำอย่างไร
ขอ ตอบว่า ก็หลักการเหมือนเดิม เพียงแต่ข้อปลีกย่อยอาจมีกำหนดแตกต่างกันไปขึ้นกับองค์กรนั้นๆ ให้ศึกษา Control of Doccument Procedure ของที่ใหม่ให้เข้าใจ ก็มีการออก DAR(Document Action Request) มี Master List ไว้ควบคุมระบบเอกสาร ดูว่า Up Date หรือไม่ ปัจจุบันเป็น Revision ใดแล้ว มีการแจกจ่าย(Distribution List) มีการอนุมัติแก้ไขได้ตามอำนาจการอนุมัติที่กำหนด (Documentation Authorization) เอกสารควรอยู่หน้างาน ไม่ใช้เอกสารเถื่อน (Un-Controlled Document) เป็นต้น
QP ก็มีหกเรื่องตามข้อกำหนด คือ
1 Control of Document Procedure
2 Control of Record Procedure
3 Non Confomity Procedure
4 Internal Audit Procedure
5 Corrective Action Procedure
6 Preventive Action Procedure
ที่สำคัญค่อยๆปรับปรุงระบบเอกสารให้ใช้งานง่ายขึ้น ลดเอกสารและแบบฟอร์มที่ไม่จำเป็นออกไป อย่าสร้างระบบที่ลึกลับซับซ้อน ทำให้ตรงกับที่เขียน และเขียนให้ตรงกับที่ทำ(จริง)
13 มีท่านที่สอบถามการตรวจโรคของโรงงานผลิตอาหาร
ผู้ เขียน ก็อธิบายให้ต่างหากมีข้อมูลบางส่วนที่ HR แต่ละแห่งอาจคิดหนัก แต่เรื่องที่ชัดๆ ก็ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่องานการผลิตอาหาร เช่นโรคผิวหนังที่มองแล้ว ผู้ไปเยี่ยมชมโรงงานอาจปฏิเสท โรคอื่นๆก็ตามกฎหมายกำหนด เรื่องโรคบางอย่างไว้ผู้เขียนจะนำไปเขียนต่อในบทความ SA8000 (Web Blog: Safety Solving)
14 น้องที่ถามเรื่อง GMP ยื่นที่ อย.ได้ไหม
ขอ ตอบว่า จะยื่นที่ อย. ได้ แต่การตรวจสอบต้องตรวจ ณ สถานที่จริง ของจริง หลักฐานจริงว่าสอดคล้องกับข้อกำหนดแล้ว รวมทั้งอาคารสถานที่ โดย อย. มาจากคำว่า คณะกรรมการอาหารและยา
15 น้องที่ถาม FSMS ครอบบคุมGMP หรือไม่
ตอบ ว่า ครอบบคุม โดย FSMS (Food Safety Management System หรือ ISO 22000) ก็มีหลายโรงงานเริ่มเตรียมการ ส่วนใหญ่ก็มีทำ ระบบ HACCP ควบกับ ISO 9001 รายละเอียดผู้เขียนเริ่มมีเขียนไว้ที่ Web Blog : Quality Solving
16 น้องจากโรงงานทำน้ำผึ้งสอบถามมา การขอใบอนุญาตเปิดโรงงาน มีหลายท่านถามมาคล้ายคลึงกัน
ผู้เขียนขออธิบาย ดังนี้
ยังมีคำถามอีกหลายข้อ ที่ผู้เขียนตอบเมล์ให้แล้ว แต่จะทยอยนำมาลง Blog เพื่อให้ท่านอื่นๆศึกษาหาความรู้ร่วมกัน
ผู้เขียนขออธิบาย ดังนี้
1 การผลิตน้ำผึ้งบรรจุขวดขายหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆที่บรรจุขวดขาย งานลักษณะนี้ จัดเป็น OTOP ได้ ไม่ต้องขอมาตรฐาน GMP โดยทั่วไปอะไรที่เข้าปากรับประทาน มักถูกบังคับต้องทำ GMP
2 หากไม่ถูกบังคับด้วย GMP แต่ก็มีกฎหมายเรื่องสาธารณะสุขและความสะอาดของอาหาร หรือ อื่นๆ เข้ามาควบคุมแทน
3 ก่อนหน้านี้ สมอ. เคยให้โรงงานอาหารขนาดเล็กๆ ทำระบบคุณภาพฉบับกระเป๋า ทำให้กับ SMEs ปัจจุบันน่าจะเลิกโครงการนี้ไปแล้ว ใช้งบน้อย ราชการสนับสนุนทั้งหมด สมอ.ก็เดินสายสอนโรงงาน และทำพวกมาตรฐานชุมชน
4 การจัดว่าเป็นประเภทโรงงาน เริ่มจากโรงงานขนาดเล็ก ต้องขออนุญาต ดูจากขนาดการใช้เครื่องจักร น่าจะตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป ถือว่าเป็นโรงงาน
5 โรงงานของ OTOP มักใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ไม่มาก น้อยกว่า 5 แรงม้า(ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม) จึงไม่เข้าข่ายโรงงาน จึงไม่ถูกบังคับด้วย GMP
6 ทางโรงงานมีการขยายกิจการและประสงค์จะยกระดับ จึงขอ อย. และ GMP นับว่าดี ยิ่งลูกค้าต่างประเทศจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้น
7 คิดว่าโรงงานที่กำหลังสร้างใหม่และใกล้เสร็จภายในสองเดือนนี้ น่าจะเข้าข่ายโรงงานด้วย กระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์น่าจะใช้เครื่องจักรที่มีกำลังม้าสูงขึ้น ต้องทำ GMP จึงต้องยื่นเรื่องแจ้งทาง อย. มาตรวจก่อน จึงจะเปิดดำเนินการได้
8 โรงงานทำน้ำผึ้งบรรจุขวด กระบวนการต่างๆไม่ยุ่งยาก ตัวอาคารก็ลงทุนและทำการก่อสร้างอาคารโรงงานให้ได้รตามข้อกำหนดของ GMP และเจ้าหน้าที่ อย. เข้ามาตรวจสอบแล้ว เข้ามาติดตามผลอีกครั้ง ก่อนออกใบอนุญาต
การผลิตน้ำผึ้งขาย จะแนะนำดังนี้
1 ต้องรู้ว่าสินค้าที่จะขายมีอะไร และกี่อย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์คือ น้ำผึ้ง เกสรผึ้ง และนมผึ้ง ด้วยหรือไม่
2 วัตถุดิบและแหล่งที่มาของน้ำผึ้งมาจากไหน เพราะผึ้งมีสามกลุ่มหลักๆ คือ ผึ้งมิ้ม ผึ้งโพรงบวกผึ้งหลวง และผึ้งพันธุ์ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก มีอาจารย์สมลักษณ์ วงษ์สมาโนด จะเชี่ยวชาญเรื่องการเลี้ยงผึ้ง
โดยผึ้งมิ้มรังขนาดเล็ก ปริมาณน้ำหวานมีน้อย ผึ้งโพรง ขนาดกลางอยู่ตามโพงไม้ และผึ้งหลวงตัวใหญ่ มักทำรังตามยอดและกิ่งไม้ใหญ่ๆให้น้ำผึ้งมาก ชาวบ้านมักรมควันผึ้งให้ผึ้งตกใจ และดูดน้ำหวาน จะได้ไม่ดุและต่อยเหล็กไน ถ้าคนแพ้ ถึงตายได้
การทำในรูปอุตสาหกรรม น่าจะต้องมาจากแหล่งเลี้ยงคือ ใช้ผึ้งพันธ์ ทำเป็นฟาร์มผึ้ง มีรังผึ้งเป็นกล่องไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า ข้างในมีหลายคอนให้ผึ้งเกาะและสร้างน้ำหวานให้
พื้นที่ที่ปล่อยผึ้งไปหาอาหาร ก็แล้วแต่ภูมิประเทศ น้ำผึ้งจึงมากจากหลายแหล่ง ทั้งจากต้น สาบเสือ หรือพญาเสือโคร่ง ต้นลำไย อื่น ทางภาคเหนือมีเยอะ
1 สินค้า คือน้ำผึ้ง ต้องมีการตรวจสอบ Final Inspection คิดว่าโรงงานรู้ ก็เขียนเป็นคู่มือการตรวจสอบขึ้นมาตามนั้น(ที่ปฎิบัติจริง)
2 เขียนคู่มือจีเอ็มพี(GMP Manual) ไปดูตัวอย่างเขียนแบบคู่มือคุณภาพของ ISO9001
เพียงแต่เพิ่มเรื่องอาคารสถานที่
เพิ่มหัวข้อ Describe Productข้อ2.1 ถึง 2.9 ที่ผมเขียนในWeb Blog ที่ 2 ทำ
ใส่ Flow Chart และทำการ Verify Flow Chart
ใส่หัวข้อ โปรแกรมพื้นฐาน(SOP: Procedure)ที่โรงงานทำน้ำผึ้งต้องมีลงไปให้ครบ เช่น เรื่องสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคล เรื่องการทำความสะอาด เรื่องการควบคุมน้ำ เรื่องการควบคุมขยะ เรื่องการควบคุมแก้ว เรื่องการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค อื่นๆเท่าที่ต้องมีตามกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์
ใส่เรื่องการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งไม่ซับซ้อน มักเป็นเครื่องบรรจุ เครื่องกรอง (Filtrate)
จากนั้นก็เขียนล้อหัวข้อตามที่ผมบอกใน Blog แต่ไม่ต้องใส่ทุก Procedure เพราะว่าอีกหลาย Procedure ต้องทำต่อยอดจาก GMP เพื่อขอรับรองระบบคุณภาพของ HACCP และ ISO22000
17 KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. service only in Thailand
The service are cover training and consulting, in the future to buy the Quality Books and Safety Tools/Equipments/PPEs.
18 มีคำถามเรื่องการตรวจโรคในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
ผู้เขียนจะทยอยเขียนข้อมูลให้ ตอนนี้สรุปสั้นๆ ไม่มีบทฟันธงชัดเจนห้ามรับพนักงานจากสาเหตุโรคใดบ้าง เอาว่าตามกฎหมายมีระบุโรคต้องห้ามรับเข้ารับราชการ เอกชนก็สามารถเทียบเคียงได้โดยให้แพทย์ตรวจและออกใบรับรองก่อนรับเข้าทำงาน แต่โรงงานผลิตอาหารมีข้อสังเกตุ และละเอียดอ่อนกว่า หากมีลูกค้ามาเยี่ยมชมโรงงาน พบว่าพนักงานเป็นบางโรคที่ดูไม่ดี เช่นโรคผิวหนังสภาพไม่สวย จะพร้อยไม่สั่งซื้อสินค้า เอาเป็นว่าบางโรคที่ดูไม่เหมาะสมก็ไม่ควรให้ทำงานในส่วนงานที่มีโอกาสสัมผัสกับอาหาร ....................
19 มีหลายท่านถามมาเรื่องเอกสารสนับสนุน และสับสนกับบันทึกว่าต่างกันอย่างไร อายุการจัดเก็บต้องระบุที่ไหนดีและ จำเป็นต้องทำเป็นสารบัญหรือไม่ (List)
ผู้เขียนขอตอบรวมๆ คือ
1 เอกสารสนับสนุนมักให้เป็นระดับสี่ (บางแห่งให้เป็นระดับสาม ก็ได้ ไม่มีปัญหา เพียงแต่การลงนามตามอำนาจอนุมัติเท่านั้น)
2 เอกสารสบับสนุน เรากำหนดเอง ระบุว่ามี แบบ ข้อกำหนดหรือSpecificatio ที่ฝ่ายวิศวกรรมออก
ส่วนเอกสารจากภายนอก เราระบุเองเช่นกัน เช่น ข้อกำหนด ISO กฎหมาย แบบของลูกค้า(ที่ส่งมาให้เรานำไปผลิต)
3 แบบฟอร์มควบคุมและแบบฟอร์มบันทึกทั่วไป ถือเป็น FM เช่น FM-QA-001 ก็ไประบุชื่อ ต้องระวังว่า หนึ่งชื่อมีหนึ่งระหัสเท่านั้น
ไม่มีการซ้ำ และควบคุมใน Master List เป็นกลุ่มของแบบฟอร์ม FM การควบคุมก็เหมือนควบคุมกลุ่ม QP หรือ WI Running หมายเลขต่อเนื่อง แยกฝ่าย แยกระดับเอกสารเช่นกลุ่ม procedure กลุ่ม WI กลุ่ม FM ซึ่งค่ิอนข้างจะมีมาก ฉะนั้น QM ระดับ 1 จึงมีแค่รายการเดียว
4 อายุการจัดเก็บบันทึกคุณภาพเรากำหนดไว้ในแบบฟอร์ม เพื่อช่วยคนทำงานที่ใช้งานนั้นๆ โดยระบุไว้บนหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษตัวเล็กๆ แตให้สังเกตุง่ายๆ ปัจจุบันก็นิยมกันมากพอสมควร
เมื่อมี Procedure เรื่องการควบคุม Record มักไประบุว่าให้ทุกฝ่ายทำ List และควบคุมบันทึกเอง ไม่นั้นงาน DC จะมากมาย ต้องกระจายงานออกไป เพราะปัจจุบัน หน่วย ISO ไม่ใช่หน่วยใหญ่ ทำเองทั้งหมดคงจะไม่ไหวครับ โรงงานส่วนใหญ่มักนิยมแบบนี้ แต่การควบคุมเอกสารและบันทึกทำได้หลากหลายวิธีการ ต้องพิจารณาความเหมาะสม กำลังคน และประชุมตกลงกันให้ชัดเจนเพื่อให้ได้รูปแบบที่ดีที่สุดหรือคิดว่าพอทำกันได้
5 ต้องไม่ลืมคำจำกัดความว่า เราให้ชีวิตหรือสถานะของ QM.QP,WI เอกสารสบับสนุนและแบบฟอร์ม (FM) เป็นเอกสาร=Document คุมตามระเบียบการควบคุมเอกสารที่ผู้เขียนไปอบรมให้หลายๆโรงงานว่า ต้องแบบหมูไปไก่มา เวลาไปแจกจ่ายเอกสารใหม่ ต้องเรียกคืนเอกสารเก่าทั้งหมด มิฉะนั้นจะมีการปะปนและยังใช้งานชุดเก่าที่ยกเลิกแล้ว กลายเป็นว่าพบเอกสารไม่ Up Date หรือไม่ทันสมัย ผู้ตรวจสอบมาพบ สามารถออกข้อบกพร่องให้ไปแก้ไข
แต่บันทึกหรือ Record หมายถึงเฉพาะแบบฟอร์มเปล่าที่ยังถือว่าเป็น Document เมื่อนำมาลงหมึกคือพิมพ์คอมพิวเตอร์ จะกลายสถานะเป็นบันทึกทันที และต่างจากเอกสารคือ มีอายุ(Retention Time) จะกี่ปีอยู่ที่เรากำหนด เมื่อครบเวลาการจัดเก็บให้ไปทำลาย บันทึกแก้ไขไม่ได้เช่นผลการตรวจสอบคุณภาพ ผ่านก็คือผ่าน ไม่ผ่านก็คือไม่ผ่าน หากไปแก้ไขคือการปลอมแปลงหรือ Make Data
6 Record ต้องให้ทุกฝ่ายทำ List หรือ QMR จะเป็นผู้รับผิดชอบทำก็ได้ แล้วแต่ความพร้อม โดยเรียกว่า สารบัญบันทึกคุณภาพ (Record Control List)
ครบเวลาก็เขียนใบขอทำลาย หลังรับอนุมัติการทำลายก็ให้แต่ละฝ่ายทำลายเองก็ดี ไม่ต้องขนมาให้ DCเป็นผู้ทำลาย มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่ DC อาจจะลาออกบ่อย เพราะวันๆนั่งแต่ฉีกบันทึกและเอกสาร น้องบางท่านจบปริญญาตรี มองแล้วอาจจะรับไม่ได้ ก็ต้องช่วยๆกัน ทำ ISO แล้ว ทุกคนมีส่วนร่วมและสำคัญตามบทบาทและหน้าที่ที่รับผิดชอบ
กำหนดอายุหรือระบุอายุในแบบฟอร์มไปแล้วจำเป็นต้องทำ LISTหรือไม่ ยังคงต้องมี สารบัญบันทึกคุณภาพ (Record Control List) เวลาระบุในใบ DAR จะได้รู้ว่าต้องมีอายุเท่าไร สามารถใช้ตรวจทานการระบุอายุการจัดเก็บ (Retention Time)
ขอตอบว่า ปกติใบ DAR จะระบุวันที่แบบฟอร์มมีผลบังคับใช้(Effective Date) และไป Up Date ใน Master List ซึ่งมีระบุในนั้น จึงต้องแจกจ่าย Master List ให้ทุกฝ่ายด้วย ถือว่ารับทราบ แต่ว่าการจัดทำหรือเซ็ทระบบเอกสารแต่ละโรงงานอาจแตกต่างกัน บางครั้งมีการแจ้งในสารบัญบันทึกคุณภาพซึ่งบ่งบอกวันที่มีผลบังคับใช้ก็ได้ แต่ไม่ค่อยนิยมบอกวันมีผลบังคับใช้ แต่มักบอกว่าอายุการจัดเก็บนานเท่าไร หรืออาจมีกำหนดรูปแบบการสื่อสารให้ทราบโดยเฉพาะก็ได้ หรือตอนแจกจ่ายเอกสารมีการแจ้งวันที่บังคับใช้ก็ได้ ที่สำคัญต้องเก็บแบบฟอร์มเก่าคืนให้หมด จึงจะแจกแบบฟอร์มที่มีผลบังคับใช้ใหม่ จะได้มั่นใจว่าใช้ฉบับปัจจุบันจริงๆ หากว่ามีการทำ Internal Audit หรือ Special Audit ยังใช้โอกาสนี้ตรวจติดตามว่ามีการตกค้างแบบฟอร์มเก่าที่ถือครองและจัดว่า Obsolete
21 ต่อจากข้อ 20 ซึ่ง DC ถามว่าจะทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายทำตามกติกาการควบคุมเอกสารและทำ ISO
ผู้เขียนตอบว่า อยู่ที่จิตสำนึกของผู้นั้น บางครั้งระดับจัดการเป็นเสียเอง บอกได้ว่าค่อนข้างหนักใจ ในทางตรงข้ามต้องช่วยกันและช่วย QMR ด้วยเพราะ QMR ที่จริงคือต้วแทนฝ่ายบริหาร ที่ผู้บริหารแต่งตั้งขึ้นมาเป็นตัวแทนท่าน เมื่อ QMR ทำอะไรไป เสมือนทำแทนท่าน หากลูกน้องของแต่ละฝ่ายฝ่าฝืน ตัวผู้จัดการฝ่ายต้องช่วยสอน อบรมหรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำเป็นตัวอย่างที่ดี คิดว่าระบบจะเดินต่อไปได้ ปัจจุบัน QMR มักตั้งมาจากผู้จัดการแผนกหรือดีขึ้นหน่อย เป็นถึงระดับฝ่าย ยังพอผลักดันกติกาได้ หาก QMR อำนาจต่ำกว่าทุกฝ่ายหรือมีฝ่ายที่อาวุโสกว่า และไม่ยอมทำตามกติกา คงต้องให้ระดับ MD ลงมาจัดการ ผู้เขียนจึงบอกเสมอว่า ต้องแต่งตั้ง QMR มาจากระดับจัดการแค่หนึ่งคนเท่านั้น(ข้อกำหนด ISO9001 ระบุไว้ชัดเจน) จากนั้นเฟ้นหาผู้เหมาะสมที่มีความรู้ในระบบการจัดการ ต้องมีสามอย่างคือ
1 Powerity มีอำนาจในการสั่งการให้ทุกฝ่ายต้องทำตาม
2 Authority เซ็นต์อนุมัติได้
3 Humanity มีมนุษย์สัมพันธ์กับทุกฝ่าย
22 น้องจากลำปางและโรงงานในนิคมฯอมตะถามว่า ซื้อวัตถุดิบจาก ผู้ขายที่เป็นตึกแถวเล็กๆ ระบบ ISO ก็ไม่มี อะไรก็ไม่มีเลย และนายชอบสั่งซื้อวัตถุดิบโดยไม่ผ่านฝ่ายจัดซื้อ ต้องทำ ASL หรือ AVL และประเมินซัพพลายเออร์หรือไม่ (Evaluate)
ผู้เขียนขออธิบายว่า ต้องทำด้วยแต่กำหนดแบบง่ายๆที่เราสามารถทำได้จริง เขียนสวยหรูแต่ทำไม่ได้
ไม่เกิดประโยชน์ ทำไม่ได้จริงและไม่ทำ จะถูก Auditor ออก CAR
ข้อแนะนำคือ
1 ต้องทำ Suppliers List ครบทุกรายที่ซื้อขายวัตถุดิบที่มีผลกับคุณภาพ
2 ต้องประเมินผลทุกรายตามระยะเวลาที่กำหนด
3 ซื้อแค่ครั้งเดียว หรือนานๆซื้อที ก็ให้ประเมินครั้งนั้น
เก็บข้อมูลไว้ใช้ประโยชน์
4 มี Supplier รายเดียวก็ต้องเข้า List
และประเมิน(Evaluate) เพื่อเก็บข้อมูลไว้ Auditor
ถาม จะได้ตอบว่า เพื่อไว้เปรียบเทียบหรือควบคุมเมื่อมีรายอื่นๆเพิ่ม
5 มีรายเดียว ประเมินแล้วตก ยังต้องซื้อ คิดว่า Auditor
ก็คงจะอนุโลมให้ซื้อต่อไป ให้ระบุว่าจำเป็น
อนาคตมีรายอื่นมีทางเลือก จะทำตามระบบ ไม่ใช่ว่า โรงงานเล็กๆทำ ISO แล้วธุรกิจเดินหน้าต่อไปไม่ได้
จะเกิดประโยชน์อันใดในการทำ ISO และ ISO9001 หรือ QMS ต้องการให้ปรับปรุงทีละขั้น (Continual
Improvement)
6 นายสั่งเข้ามาต้อจำใจรับวัตถุดิบนั้นจาก Suppliersเส้นใหญ่ พนักงานบอกผิดระบบ ทำไปบ่นไป ไม่มีความสุข
นายรู้อาจโดนขัดคำสั่งเจ้านาย ขอแนะทางออก ให้ไปแก้ไขขั้นตอนการคัดเลือกว่า นายสั่งเข้ามาได้
เป็นการคัดเลือกอีกวิธีการหนึ่ง เมื่อระบุแบบนี้ก็เป็นระบบงานแล้ว นายก็มีสิทธิ์เพราะเป็นผู้คัดเลือก เราทำตามก็สบายใจ แต่ครบกำหนดก็ให้ประเมินผลและแจ้งผลให้นายทราบ
หากจำเป็นและนายยังสั่งซื้อก็ให้ซื้อไป หากวัตถุไม่ได้คุณภาพเลย คิดว่าเจ้านายก็คงไม่กล้าสั่งเข้ามา
7 หากนายยังดื้อแพ่งสั่งเข้ามา
ก็สร้างระบบงานเพิ่มการขออนุโลมให้เจ้านายลงชื่ออนุมัติ หาก Auditor มองเป็นข้อบกพร่องถูกออก CAR ไม่ต้องกังวลเพราะเจ้านายก็มีส่วนเกี่ยวข้อง
8 หากมีอนุโลมบ่อยเหลือเกินก็วิเคราะห์ปัญหา
ทำสรุปให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบ หากยังเอาไม่อยู่ คืออนุโลมทั้งปี และอนุโลมทุกLots ทำงานต่อไปยังหนักใจ
เจ้าหน้าที่จัดซื้อต้องอดทนกับระบบงานที่ไม่ยอมร่วมกันแก้ไข และป้องกันปัญหา ทางเลือกสุดท้ายเมื่อเปลี่ยน Supplierไม่ได้
เราก็เปลี่ยนนายได้ คือ หาที่สมัครงานใหม่
ไปตายเอาดาบหน้าให้รู้ไปเลยว่าระบบดีๆไม่ทำ เอาแต่วัตถุดิบราคาถูกๆ คุณภาพแย่มาก แล้วจะผลิตสินค้าที่ดีได้อย่างไร ดิฉันหรือข้าพเจ้าขอกราบลาแล้วนะท่าน
ถือว่าหมดทุกข์หมดโศกเสียที อามิตตาพุทธและอาเมน แต่คิดว่าทุกอุปสรรคมีทางออกเสมอ น้องๆอย่าด่วนลาออกนะครับ
23 มีน้องถามว่า Corrective Action และ Preventive Action จะรวมกันใน QP (Quality Procedure) เดียวกันได้หรือไม่
ผู้เขียนขอตอบว่า สามาถรทำได้ และแบบฟอร์ม CAR และ PAR จะทำแบบรวมกันก็ยังได้
หมายความว่า หัวข้อทั้งสอง จะทำแยกคนละ QP ก็ได้ ทำรวมเป็น QP
เดียวกันก็ได้ เวลาผู้ตรวจประเมิน หรือ Auditor ถามหานั้น สามารถตอบได้ จะรวมหรือแยกได้ทั้งนั้น หาให้พบ ตอบให้ได้
ทำอย่างมีประสิทธิผล
ติดตามอ่านต่อ : โดยผู้เขียนจะนำคำถามและคำตอบไปลงในบทความ สามารถ link ไปที่
http://quality1996-quality1996.blogspot.com/ เข้าไปอ่านที่บทความของบล๊อคที่ 21 ชื่อคำถามเกี่ยวกับระบบบริหารจากโรงงานต่างๆ และ Blog ที่ 17 ชื่อ ksnationconsultant
ติดตามอ่านต่อ : โดยผู้เขียนจะนำคำถามและคำตอบไปลงในบทความ สามารถ link ไปที่
http://quality1996-quality1996.blogspot.com/ เข้าไปอ่านที่บทความของบล๊อคที่ 21 ชื่อคำถามเกี่ยวกับระบบบริหารจากโรงงานต่างๆ และ Blog ที่ 17 ชื่อ ksnationconsultant
Copy Right, All Right Reserved.
สามารถ Click ดูที่ Web Blog ด้านล่าง
ISO9001:2015, IATF16949 link ดูจาก http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
GMP/HACCP/ISO22000/ISO17025 link ดูจาก http://qualitysolving.blogspot.com/
ISO14001, OHSAS18001, SA8000 link ดูจาก http://safetysolving.blogspot.com/
Check List of ISO (MS):link ดูจาก http://McQMRtraining-McQMR.blogspot.com/ หรือ https://sites.google.com/site/mcqmrtraining/
หรือ http://sites.google.com/site/isosiamtraining/
หรือ SA8000 Check List link ที่ http://McQMRTraining.blogspot.com/
In-House Training: http://ksnationconsultant.blogspot.com/ หรือ http://sites.google.com/site/isotrainingandcoaching/
หรือ http://mcqmr-training-consulting.blogspot.com/
หรือ http://McQMR.blogspot.com/
เกี่ยวกับ Certification Bodies: ลูกค้าหลายรายมักถามจะขอรับรอง CB ใดดีที่สุด หรือเปลี่ยนไปที่ไหนดีให้ดูที่ลูกค้าหลักของคุณระบุ CB หรือไม่ และตัวองค์กรท่านต้องการอย่างไรเป็นตัวตั้ง หา CB ที่ว่ามีความพร้อมมากที่สุด ที่สนองตอบความพึงพอใจขององค์กรท่าน CB ที่พบให้การรับรองที่มาหากินในไทยมากกว่ายี่สิบ CBs รวมทั้งเกี่ยวกับการใช้บริการห้องปฏิบัติการต่างๆ การเลือกใช้บริการ สรุปว่า
1 ขึ้นกับนโยบายบริษัทว่าจะเลือกใคร
2 อาจมีลูกค้าเจาะจงเลือกให้ เมื่อเป็นลูกค้ารายใหญ่มากมากๆมีอำนาจต่อรองเรา
3 ใครก็ได้ที่ราคาถูกกว่า สมเหตุสมผล หรือถูกใจเรา
อย่างน้อยมีคนนอกมาให้การรับรอง ย่อมเพิ่มความน่าเชื่๋อถือขึ้น